วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
ประวัติอำเภอหนองจิก
อำเภอหนองจิกเดิมเรียกว่า "เมืองหนองจิก" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของเมืองตานี ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าให้แยกเมืองปัตตานี ออกเป็น 7 หัวเมือง มีเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี เองระแนะ เมืองยะลา เมืองรามัน เมืองยะหริ่ง และเมืองหนองจิก โดยมีตุวันสะนิมีตุวันสะนิเป็นเจ้าเมืองหนองจิกคนแรก ตั้งศูนย์กลางการปกครองเมืองหนองจิก อยู่ที่บริเวณตำบลคลองใหม่ ตำบลคอลอตันหยง มีอาณาเขตทางทิศใต้ติดต่อกับเมืองยะลา ทิศเหนือจดฝั่งทะเลของอ่าวไทย ทิศตะวันออกจดเมืองปัตตานี และทิศตะวันตกจดเขตแดนเมืองเทพา ตุวันสะนิ เป็นเจ้าเมืองหนองจิก จนถึงแก่กรรมในตอนต้นรัชการรที่ 3 และโปรดเกล้าฯให้ตุวันกะจิน้องชายตุวันสุหลงผู้ว่าราชการเมืองปัตตานี เป็นเจ้าเมืองคนต่อมา ในปี พ.ศ.2374 เมืองไทรบุรี ก่อการกบฏ ตุวันกะจิเจ้าเมืองหนองจิก ร่วมมือกับตุวันสุหลง เจ้าเมืองปัตตานี เจ้าเมืองยะลา และเจ้าเมืองระแงะ ก่อการกบฏแต่ในที่สุดไทยก็ปราบลงได้ ตุวันกะจิเสียชีวิต ในการต่อสู้ ตำแหน่งเมืองหนองจิกว่างลง จึงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ นายบุญเม่น ชาวเมืองจะนะ ซึ่งทำความดี ความชอบไปเป็นเจ้าเมืองหนองจิก ต่อไมนายเม่น ประพฤติตนไม่เหมาะสม จึงถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และให้ตนกูปะสา จากเมืองกลันตัน เป็นผู้รักษาราชการเมืองหนองจิก อยู่ 3 ปี จนถึงพ.ศ.2338 ตำแหน่งเจ้าเมืองปัตตานีว่างลง จึงย้ายตนกูปะสาไปเป็นเจ้าเมืองปัตตานี และให้นายเกลี้ยงบุตรพระยายะหริ่งเป็นเจ้าเมืองหนองจิก ได้รับพระราชทานเป็นพระยาวิเชียรตภักดีศรีสงคราม ต่อมาในปี พ.ศ.2444 พระยาวิเชียรภักดีสงคราม ได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองหนองจิก จากบริเวณเดิมมาตั้งขึ้นใหม่ในท้องที่ตุยง อันเป็นที่ตั้งอำเภอหนองจิกในปัจจุบัน ซึ่งพื้นที่แห่งนี้เป็นสันทรายที่เกิดจากโคลน และทรายทับถมกันมานาน ทำให้น้ำท่วมไม่ถึง มีแม่น้ำหนองจิกไหลผ่านไปออกที่ปากน้ำตำบลบางตาวาซึ่งสะดวกในการติดต่อค้าขายไปมาระหว่างเมืองสงขลากับเมืองกลันตันและตรังกานู ในคราวเดียวดัน พระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามก็ได้ตั้งวัดขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและทำพิธีเดิมน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ เรียกวัดนี้ว่า "วัดตุยง" และได้อาราธนา พระอาจารย์พรหม จากเมืองยะหริ่ง มาเป็นเจ้าอาวาส พระยาวิเชียรภักดีศรีสงครามเป้นเจ้าเมืองหนองจิกจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมลงในตอนปลาย รัชกาลที่ 4 ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองจิกคนต่อมา คือหลวงพิทักษ์เขตขันฑ์ (กิ่ง ณ สงขลา) เป็นอยู่ 2 ปี ก็ถึงแก่กรรม จ จึงโปรดเกล้าฯให้นายเวียง (พระยาเพชราภิบาลฯ) บุตรผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาไปเป็นเจ้าเมืองหนองจิก ในตอนต้นรัชการที่ 5 เป็นอยู่ประมาณ 10 กว่าปี ก็ถึงแก่กรรม ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้นายมิ่ง (มิ่ง โรจนหัสดินทร์) เป็นเจ้าเมืองหนองจิก จนกระทั้งมีการปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น กล่าวคือในปีพ.ศ.2499 รัฐบาลเร่มจัดตั้งมณฑลปัตตานีอย่างเป็นทางการ มีการยุบหั7หัวเมืองลงเหลือเพียง 4 เมือง คือปัตตานี สายบุรี ยะลา และนราธิวาส เมืองหนองจิกถูกยุบลงเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองปัตตานี โดยในระยะแรกยังเรียกว่าอำเภอหนองจิก และในระหว่างปี พ.ศ.2458-2481 เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหนองจิก ตามเดิมและในปีพ.ศ.2483 ทางราชการได้โอนอนอำเภอหนองจิกไปขึ้นกับอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ตั้งที่ว่าการอำเภอที่ตำบลคลองใหม่ ต่อมาจึงแยกออกตั้งเป็นอำเภอหนองจิกตามเดิม และตั้งที่ว่าการอำเภอ ที่ตำบลตุยง มาจนกระทั่งถึงปัจจุบันขนาดและที่ตั้ง อำเภอนหนองจิก เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดปัตตานี ห่างไปประมาณ 8.5 กม. ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง มีเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 76 หมู่บ้าน หน่วยราชการส่วนท้องถิ่นแยกเป็นเทศบาล 2 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 11 แห่ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)